วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การรับสารด้วยการอ่าน (ต่อ)

การรับสารด้วยการอ่าน
การอ่านเก็บความรู้
คำชี้แจง  ให้นักเรียนอ่านข้อความต่อไปนี้แล้วสรุปใจความสำคัญด้านความรู้ที่ได้รับจากการอ่าน
ความยาว  5 – 6 บรรทัด


 เรื่อง  ยังไม่สายหากจะตัดอาการเสพติดอีเมล       
          ในโลกที่เทคโนโลยีการสื่อสารกว้างไกล  การใช้อินเทอร์เน็ตทั้งเพื่อหาข้อมูลและการสื่อสารผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมลที่ทำให้ติดต่อกันข้ามโลกในเวลาอันรวดเร็วนั้นกลับจะยิ่งกลายเป็นสร้างปัญหาสำหรับบางคนได้ไม่รู้ตัว  หากมีคนถามว่า “คุณเช็คอีเมลครั้งสุดท้ายเมื่อไร” แล้วคำตอบก็คือ 15 นาทีที่แล้ว คุณก็เป็นเช่นเดียวกับอเมริกันชนส่วนใหญ่ที่เป็นแบบนี้  แม้ว่าจะไม่ใช่เวลางานก็ตามที  และถ้าเป็นคนที่พกอุปกรณ์ดิจิทัลช่วยจัดการข้อมูลส่วนตัวหรือพีดีเอ  อาจยิ่งรุนแรงกว่านั้น  เจอาร์  ราฟาเอล  จากนิตยสารพีซีเวิลด์เขียนไว้ในพีซี  เวิล์ด บล็อกเกอร์  แนะนำว่าการที่จะเริ่มอาการเสพติดอีเมลนั้นสามารถทำได้  โดยขั้นแรกให้บอกกับตัวเองว่า  ไม่มีอีเมลใดที่จะทำลายตัวเองลง  หากไม่ได้เปิดอ่านทันที พึงระลึกไว้ว่าหากมีเรื่องด่วนสุดๆ  คนที่ส่งข้อความมาก็คงโทรศัพท์  หรือทำอย่างไรก้ได้ให้ถึงตัวคุณโดยเร็วที่สุด
          ควรจำกัดเวลาที่จะรับหรือส่งอีเมล  สมมติว่าถึงบ้านตอน 6 โมงเย็น แล้วเปิดคอมพิวเตอร์ก็ต้องปิดเครื่องประมาณ 1 ทุ่ม ลองทำดูแล้วจะรู้ว่าชีวิตจริงๆได้กลับคืนมา  หรือมิเช่นนั้นก็อาจจะกำหนดเวลาระหว่างวันว่าจะเปิดอ่านอีเมลในช่วงเวลาใดบ้าง  แล้วทำให้ได้ตามนั้น  อาจจะเป็น 10 นาที ช่วงเช้า 10  นาทีตอนเที่ยง และอีก 10 นาที ตอนกลางของช่วงบ่าย แล้วต้องทำตามกำหนดเวลานั้น  คุณจะแปลกใจที่ได้พบว่ามีเวลาเพิ่มขึ้น
          ในหนึ่งสัปดาห์ควรมีเวลาที่จะหยุดรับส่งอีเมลสักหนึ่งวัน  แล้วหันไปหาสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ  ถ้าหากคิดว่าจะโหดร้ายเกินไป  อาจเริ่มจากการอนุญาตให้เปิดอีเมลได้ 5 นาที ในเช้าวันเสาร์  จากนั้นให้เวลาที่เหลือตลอดทั้งวันเป็นวันปลอดอีเมล

   เรื่อง  อยากฝันหวานต้องดมกุหลาบ
                    กลิ่นช่วยวาดความฝันให้ดีหรือฝันร้ายได้  นักวิทยาศาสตร์เมืองเบียร์แนะนำว่า  ถ้าหากอยากนอนหลับฝันหวาน  ต้องหาดอกไม้กลิ่นหอมๆไว้ในห้องนอน
          พวกเขาได้พบในการศึกษาทดลองกับอาสาสมัครที่กำลังหลับลึก  ซึ่งเป็นช่วงที่คนเรามักจะฝันแล้วเอาดอกไม้หอมๆไปแกว่งล่อที่จมูกนานสัก 10 วินาที แล้วจึงปลุก  หลังจากนั้น  1 นาที ให้เล่าความฝันโดยละเอียดให้ฟัง
          ศาสตราจารย์บอริส  สตัค  แห่งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยมันไฮม์  หัวหน้าคณะนักวิจัยรายงานต่อที่ประชุมแพทย์โสตศอนาสิกแห่งอเมริกาว่า  อาจเป็นได้ว่ากลิ่นหอมอาจช่วยให้คนเราฝันดีขึ้นได้เพราะเมื่อทดลองใช้กลิ่นเหม็นๆ เช่น ไข่เน่าให้ดม  อาสาสมัครกลับฝันร้ายขึ้นจึงคิดจะไปศึกษาต่อกับผู้ที่นอนฝันร้ายบ่อยดูบ้าง
          ก่อนหน้านี้ก็เคยมีการศึกษาพบว่าสิ่งกระตุ้นประสาทอย่างอื่น เสียง  อาการสั่นไหว  ความกดบีบ  
ก็มีอิทธิพลต่อเรื่องและอารมณ์ความรู้สึกของความฝันเหมือนกัน

(ไทยรัฐ : 25 กันยายน 2551)    






















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น